เมนู

คำว่า สติมา (มีสติ) คือผู้ประกอบด้วยสติอันกำหนดกาย. ก็เพราะ
เหตุที่ภิกษุนี้กำหนดอารมณ์ด้วยสติ แล้วก็ตามเห็นอยู่ด้วยปัญญา. จริงอยู่
ขึ้นชื่อว่า การตามเห็นของภิกษุเว้นจากสติ ก็ไม่มี. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสติแลว่าเป็นธรรม
มีประโยชน์ในที่ทั้งปวง
ฉะนั้น กายานุปัสสนาสติปัฏฐานกรรมฐาน ใน
คำว่า กาเย กายานุปสฺสี วิหรตินี้ ย่อมเป็นคำอธิบายอันพระผู้มีพระภาค-
เจ้าตรัสแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า เพราะความหดหู่ภายในเป็นธรรม ทำ
อันตรายแก่ภิกษุผู้ไม่มีอาตาปี ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ ย่อมหลงใหลในการกำหนด
ธรรมอันเป็นอุบาย และในการเว้นจากสิ่งที่มิใช่อุบาย. ผู้มีสติหลงลืม ก็ย่อม
เป็นผู้ไม่สามารถในการไม่สละอุบายและในการกำหนดสิ่งที่มิใช่อุบาย. เพราะ
ฉะนั้น กรรมฐานของเขาจึงไม่รุ่งเรือง ด้วยเหตุนั้นกรรมฐานนั้นย่อมรุ่งเรือง
ด้วยอานุภาพแห่งธรรมเหล่าใด เพื่อการแสดงธรรมเหล่านั้นพระผู้มีพระภาค-
เจ้าจึงตรัสคำนี้ว่า อาตาปี สมฺปชาโน สติมา ดังนี้. ครั้งทรงแสดงกายานุ-
ปัสสนาสติปัฏฐาน และสัมปโยคะ (การประกอบพร้อม) ด้วยประการฉะนี้
แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงองค์แห่งการละ จึงตรัสว่า วิเนยฺย โลเก
อภิชฺฌาโทมนสฺสํ
ดังนี้.

อธิบายคำว่า วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ

1

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า วิเนยฺย ได้แก่ นำออกแล้ว ด้วยตทังค-
วินัย หรือด้วยวิกขัมภนวินัย. กายนี้ใด อันต่างด้วยกายภายในเป็นต้น ที่ทรง
กำหนดในคำว่า โลเก นี้ กายนั้นนั่นแหละ ชื่อว่าโลก ในที่นี้. อธิบายว่า

1. แปลว่า " พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก "